img

หม้อไอน้ำ ( Boiler)

หม้อไอน้ำ ( Boilers) ในทางอุตสาหกรรมหมายถึงภาชนะที่บรรจุน้ำภายใต้ความดันสูงและน้ำนี้จะถูกกลายเป็นไอเมื่อได้รับความร้อนจากการสันดาปของเชื้อเพลิง ภาชนะเปิดที่บรรจุน้ำหรือภาชนะที่ให้กำเนิดไอน้ำที่ความดันบรรยากาศ ไม่นับเข้าเป็นหม้อน้ำทางอุตสาหกรรม  เหตุผลที่ทำให้น้ำที่บรรจุอยู่ในหม้อน้ำมีความดันสูง  เพราะว่าจะทำให้จุดเดือดของไอน้ำสูงขึ้น  เพื่อที่จะให้ได้พลังงานจากไอน้ำมากขึ้น ขณะเดียวกันน้ำซึ่งมีสภาพเป็นของเหลวจะมีปริมาตรน้อยกว่าน้ำที่มีสภาพเป็นไอ  จึงต้องการเนื้อที่ของหม้อน้ำน้อยกว่า  ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งสองทาง
การทำงานของหม้อไอน้ำ ( Boilers)  ทำให้เกิดการสูญเสียไอน้ำขึ้นเสมอไม่ว่าจะเกิดโดยเจตนา (นำไปใช้ประโยชน์) หรือไม่เจตนา ( สูญเปล่า) ก็ตาม เป็นผลทำให้มีปริมาณน้ำในหม้อน้ำลดน้อยลงไป การเติมน้ำทดแทนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาปริมาณของน้ำในหม้อน้ำ  อย่างไรก็ตาม  การเติมน้ำเพื่อทดแทนไอน้ำที่สูญเสียไปเป็นการเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายในหม้อน้ำ  เนื่องจากการสูญเสียไอน้ำซึ่งเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ทำให้มีแร่ธาตุตกค้างอยู่ และในขณะเดียวกันน้ำเลี้ยง ก็นำแร่ธาตุเข้ามาใหม่เพิ่มขึ้นอีก หากสภาวการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเกิดขึ้นตลอดไป  น้ำในหม้อน้ำก็จะมีความเข้มข้นสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงจุดหนึ่ง ปัญหาต่างๆ ก็จะเกิดขึ้น เช่น การกัดกร่อน การสร้างตะกรัน การเกิดน้ำปะทุ การเกิดน้ำเป็นฟอง  และแครีโอเวอร์  เป็นต้น



 ปัญหาที่พบในหม้อไอน้ำ ( Boilers)
1.       ปัญหาเรื่องการกัดกร่อนโลหะ
2.       ปัญหาเรื่องการเกิดตะกรัน
3.       ปัญหาเรื่องการเกิดน้ำประทุ (Priming) น้ำเป็นฟอง(Foaming)
4.       ปัญหาเรื่องแครีโอเวอร์ (Carry Over )ในหม้อไอน้ำ

1. ปัญหาเรื่องการกัดกร่อนโลหะ
    น้ำที่มีคุณภาพไม่เหมาะสม  (แต่ไม่จำเป็นต้องสกปรก) สามารถกัดกร่อนโลหะนานาชนิดที่เป็นอุปกรณ์ของระบบหม้อไอ้น้ำ ระบบระบายความร้อนและระบบท่อขนส่งน้ำ ทำให้เกิดความเสียหายหรือทำให้เกิดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดังกล่าวลดต่ำลง และในบางครั้งอาจทำให้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย
สาเหตุของการกัดกร่อนโลหะ
 เนื่องจากการกัดกร่อนโลหะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยเป็นกระบวนการที่ทำให้โลหะกลับคืนไปสู่สภาวะเดิมในธรรมชาติ เช่น เหล็กเกิดการผุกร่อนเป็นเหล็กออกไซด์ซึ่งเป็นแร่เหล็ก  การกัดกร่อนโลหะจึงสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและพร้อมที่จะเกิดทุกขณะเท่าที่โอกาสอำนวยให้  สาเหตุพร้อมทั้งกลไกของการกัดกร่อนโลหะอาจสรุปได้ดังในตาราง                                        

 สาเหตุและกลไกของการกัดกร่อนโลหะ
               สาเหตุการกัดกร่อน
         กลไกการกัดกร่อน
1.เมื่อน้ำมีพีเอชต่ำเป็นกรด  (ไม่ว่าจะมีดีโอ         หรือไม่ก็ตาม)








2.เมื่อน้ำมีดีโอ ( และมีพีเอชสูงกว่า 7)
3.โลหะต่างชนิดต่อกันเป็นวงจรเซลล์ไฟฟ้า
4.โลหะไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ( เนื้อโลหะไม่สม่ำเสมอ)


5.ผิวโลหะสัมผัสกับสารละลายที่มีดีโอ เช่น โลหะสองชิ้นที่ติดกันด้วยหมุด   บริเวณสัมผัสจะมีดีโอต่ำกว่า บริเวณอื่นเป็นต้น
6.ผิวโลหะสัมผัสกับสารละลายที่มีไอออนเข้มข้นไม่สม่ำเสมอกัน


7.ผิวโลหะมีรอยร้าวหรือชำรุดเฉพาะแห่ง




8.โลหะได้รับความกดดัน เช่น ถูกทำให้ยืด เป็นต้น
การกัดกร่อนที่เกิดจากกาซไฮโดรเจนหนีออกจากน้ำ หรือความต่างศักย์ของขั้วบวกและไฮโดรเจนสูงกว่า   hydrogen over voltage
ขั้วบวก Xº         Xa   +  ac
ขั้วลบ   2H    + 2e­        H2                         


เกิดเซลล์ไฟฟ้าแบบกัดกร่อน
เกิดเซลล์ไฟฟ้าแบบกัดกร่อน
ทำให้ศักย์ไฟฟ้าไม่เท่ากันทุกจุด จึงเกิดขั้วบวกและขั้วลบ และทำให้เกิดเซลล์ไฟฟ้า


โลหะบริเวณที่สัมผัสกับดีโอสูงจะเป็นขั้วลบ และบริเวณที่มีดีโอต่ำจะเป็นขั้วบวกที่ลึกกร่อน


โลหะบริเวณที่สัมผัสกับดีโอสูงจะเป็นขั้วลบ และบริเวณที่มีดีโอต่ำจะเป็นขั้วบวกที่ลึกกร่อน


รอยร้าวหรือชำรุดมักเป็นจุดที่การป้องกันเข้าไปไม่ถึง หรือมีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าบริเวณส่วนใหญ่จึงมักผุกร่อน
บริเวณที่ได้รับความกดดันสูงกว่าจะเป็นขั้วบวกที่ผุกร่อน


2. ปัญหาเรื่องการเกิดตะกรัน
    ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอและมักหลีกเลี่ยงได้อยากอีกประการหนึ่ง  ที่เกิดกับระบบหม้อไอน้ำ และระบบท่อต่าง ๆ  ได้แก่ เรื่องตะกรันที่เกิดจากน้ำ  ปัญหานี้ทำให้ต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์  เป็นจำนวนมาก  ตะกรันที่เกิดขึ้นจะเป็นฉนวนต่อการถ่ายเทความร้อน  และทำให้ท่อน้ำวาล์ว และข้อต่อต่างๆ  เกิดการอุดตันได้  ตะกรันอาจแบ่งออกได้สองชนิดคือ   ตะกรันสนิม      (Pipe  Scale)  และตะกรันหินปูน (Mineral  Scale)  ตะกรันสนิมหมายถึงตะกรันที่เป็นโลหะออกไซด์  เช่น เหล็กออกไซด์เป็นต้น ตะกรันเหล่านี้เป็นผลที่ได้จากปฏิกิริยากัดกร่อนโลหะ  และมักเกิดขึ้นภายในท่อหรือส่วนอื่นๆ   ของระบบน้ำ   ส่วนตะกรันหินปูนนั้นเกิดจากการตกผลึกของแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำภายใต้สภาวะที่เหมาะสมตะกรันหินปูนมักเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ สารประกอบดังกล่าวมีความสามารถในการละลายน้ำได้น้อยที่สุด  ดังนั้นจึงตกผลึกได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูง   นอกจากนั้นตะกรันหินปูนยังอาจเป็นสารประกอบอื่น  เช่น  แคลเซียมซัลเฟต  แมกนีเซียมคาร์บอเนต  หรือสารประกอบของเหล็ก   ซิลิกา  และแมงกานีส  ( เรียงลำดับที่พบได้บ่อยที่สุด) ในบางครั้งถ้ามีการใช้สารหยุดสนิมหรือสารห้ามตะกรันที่มีฟอตเฟตของสารดังกล่าวรวมอยู่ในตะกรันหินปูนด้วย
สลัดจ์ (Sludge)  ถือว่าเป็นตะกรันอย่างเหลวหรืออ่อนกว่าตะกรันธรรมดา  โดยทั่วไป   มักถือว่าสลัดจ์ เป็นปฏิกิริยาระหว่างความกระด้างและสารหยุดสนิมหรือสารห้ามตะกรันบางชนิด   เนื่องจากตะกรันเป็นผลจากการตกผลึกที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ดังนั้นจึงปรากฏอยู่เสมอว่าตะกรันมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันตะกรันต่างๆ ที่อาจพบได้ในระบบหม้อไอน้ำระบบน้ำหล่อเย็นและระบบท่อน้ำมีดังนี้
  ตะกรันต่างๆ ที่พบในระบบหม้อไอน้ำ
       ชื่อวิทยาศาสตร์
       สูตร
     ชื่อสามัญ
     ผลกระทบ
แคลเซียมคาร์บอเนต
แคลเซียมไบคาร์บอเนต
แคลเซียมซัลเฟต
แมกนีเซียมคาร์บอเนต
แมกนีเซียมซัลเฟต
ซิลิคอน  ไดออกไซด์
(Silicon Dioxide)
แคลเซียมคลอไรด์
แมกนีเซียมไบคาร์บอเนต
แมกนีเซียมคลอไรด์
โซเดียมคลอไรด์
โซเดียมคาร์บอเนต
โซเดียมไบคาร์บอเนต
โซเดียมไฮดรอกไซด์
โซดียมซัลเฟต


CaCO3
Ca(HCO3)2
CaSO4
MgCO3
MgSO4
SiO2


CaCl2
Mg(HCO3)2
MgCl2
NaCl
Na2CO3
NaHCO3
NaOH
Na2SO4
ชอล์ค หินปูน
-
ยิบซัม พลาสเตอร์บ่ารีส
แมกนีไซด์
Epsom Salt
ซิลิกา


-
-
-
เกลือแกลง
โซดาแอช โซดาซักผ้า
โซดาทำขนม
โซดาไฟ
Glauber 'S Salt




ตะกรันอ่อน
ตะกรันอ่อน
ตะกรันแข็ง
ตะกรันอ่อน
การกัดกร่อน
ตะกรันแข็ง


การกัดกร่อน
ตะกรัน  การกัดกร่อน
การกัดกร่อน
Electrolysis
สภาพด่าง
น้ำปะทุ,น้ำเป็นฟอง
สภาพด่าง,โลหะร้าว
สภาพกรด






ตะกรันในหม้อไอน้ำ
ตะกรันในหม้อไอน้ำเป็นผลโดยตรงจากการตกผลึกของแร่ธาตุนานาชนิดที่มีอยู่ในน้ำที่ป้อนเข้าหม้อไอน้ำธาตุเหล่านี้ที่สำคัญได้แก่  แคลเซียม  แมกนีเซียม  เหล็ก  และซิลิกา  การป้องกันการเกิดตะกรันสามารถจะทำได้โดยการกำจัดต้นเหตุของตะกรันหรือทำให้การตกผลึกของแร่ธาตุไม่สามารถเกิดขึ้นได้  การป้องตะกรันโดยกำจัดต้นเหตุได้แก่ ความกระด้าง  เหล็ก  และอื่นๆ  สามารถกระทำได้โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ  เครื่องทำน้ำอ่อน  เครื่องกำจัดเหล็ก ฯลฯ  และถือว่าเป็นการปรับคุณภาพนอกหม้อไอน้ำ ส่วนการป้องกันตะกรันโดยมิให้สามารถตกผลึกได้ ถือว่าเป็นการปรับคุณภาพน้ำภายในหม้อไอน้ำ ซึ่งกระทำได้โดยเติมสารหยุดตะกรันให้กับน้ำในหม้อไอน้ำ เพื่อให้แร่ธาตุต่างๆ อยู่ในรูปของสารละลายต่อไป

3. ปัญหาเรื่องน้ำปะทุ (Priming) และน้ำเป็นฟอง (Foaming) ในหม้อไอน้ำ

น้ำปะทุหรือ Priming ในหม้อไอน้ำ หมายถึงการเดือดอย่างรุนแรงและผิดปกติของน้ำในหม้อไอน้ำ ที่ทำให้ระดับน้ำมีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้การควบคุมหม้อไอ้น้ำเป็นไปได้ยาก เหตุให้น้ำกระเด็นเป็นฝอย และหลุดไปปะปนกับไอน้ำ ทำให้เปอร์เซ็นต์ความบริสุทธิ์ของไอน้ำลดลง

น้ำเป็นฟองหรือ Foaming หมายถึงลักษณะการเกิดฟองขนาดเล็กมากมายขึ้นบนผิวน้ำคล้ายกับฟองผงซักฟอกในอ่างซักผ้า ปัญหานี้เกิดรุนแรงน้อยกว่าน้ำปะทุแต่ก็ก่อความยุงยากในลักษณะเดียวกัน คือทำให้ไอน้ำสกปรก เนื่องจากฟองที่เกิดขึ้นอาจหลุดลอยขึ้นไปปนกับไอน้ำ

สาเหตุที่ทำให้ไอน้ำสกปรกเนื่องจากน้ำปะทุและน้ำเป็นฟองและแครีโอเวอร์ด้วย มีดังนี้
ก.      หม้อไอน้ำมีสิ่งสกปรก  เช่นน้ำมันหรือสิ่งแปลกปลอมอื่น
ข.      หม้อไอน้ำมีแร่ธาตุละลายอยู่มากเกินไป (TDS สูง) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆเช่น การระบายน้ำทิ้ง (Blow down) ไม่เพียงพอ ความเป็นด่างสูง  ไม่มีการเติมเคมีเพื่อกำจัดออกซิเจน ฯลฯ

4. ปัญหาเรื่องแครีโอเวอร์ (Carry Over) ในหม้อไอน้ำ
               แครีโอเวอร์  เป็นการทำให้ไอน้ำมีมลทินด้วยสารที่อยู่ในน้ำ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในหม้อไอน้ำได้  เนื่องจากมีการสัมผัสโดยตรงระหว่างละอองน้ำเดือดกับไอน้ำ  (กรณีนี้เกิดขึ้นเฉพาะกับหม้อไอน้ำที่มีความดันสูงกว่า 600   ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เท่านั้น) ด้วยเหตุนี้จึงจำแนกแครีโอเวอร์ออกเป็น   2     ประเภท

               1. แครีโอเวอร์ที่เกิดจากละอองน้ำ  ( Mechanical  Carryover  )   แครี่โอเวอร์ประเภทนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก  มีการสัมผัสระหว่างละอองน้ำ  ที่กระเด็นขึ้นมาจากผิวน้ำเดือดในหม้อไอน้ำ  ทำให้ละอองน้ำติดไปกับไอน้ำเข้าไปในท่อไอน้ำและท่อควบแน่นผลเสียเกิดขึ้นเนื่องจากละอองน้ำมีสารมลทิน 

ต่างๆ ละลายอยู่  อาจเป็นสารละลายน้ำเช่น  ไบคาร์บอเนต  หรือเป็นตะกอนของแข็ง เช่น  ทรายละเอียดสารมลทินต่างๆ  ก่อความเสียหายให้กับระบบหม้อน้ำไอน้ำได้มาก

              2.  แครีโอเวอร์ที่เกิดจากไอระเหยของสาร  ( Volatile  Carryover ) แครีโอเวอร์ชนิดนี้เกิดขึ้นเฉพาะกับหม้อไอน้ำที่มีความดันสูงกว่า  600  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าหม้อไอน้ำดังกล่าวทำงานที่อุณหภูมิสูงมาก  จนเพียงทำให้สสารในน้ำเกิดการระเหยกลายเป็นก๊าซ  สารที่เป็นปัญหา

อย่างมาก  ได้แก่  ซิลิกา  ทั้งนี้เพราะสารนี้พบได้ไม่ยากในน้ำบาดาลและเป็นสารที่ระเหยได้ก่อน  ไอน้ำที่มีไอซิลิกาติดอยู่ด้วยจะไปก่อปัญหาให้กับอุปกรณ์ที่อยู่ถัดจากหม้อไอน้ำ  เช่น  เครื่องซุปเปอร์ฮีทเตอร์และเครื่องกังหันเทอร์ไบน์  สารอย่างอื่นที่อาจกลายเป็นไอติดไปกับน้ำ  ได้แก่  โซเดียมไฮดรอกไซด์  โซเดียมคลอไรด์  โซเดียมฟอสเฟต  แอมโมเนียม  และสารอามีน